Home » บทความ » ประเภทของเครื่องสแกนเอกสาร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะกับงาน?

ประเภทของเครื่องสแกนเอกสาร เลือกใช้ยังไงให้เหมาะกับงาน?

การสแกนเอกสารจะต้องมีการสแกนเอกสารหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นเครื่องสแกนเอกสารก็จะมีหลากหลายรูปแบบ และมีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน เครื่องสแกนเอกสารมีหลักการทำงานคือการอ่านภาพ หรือตัวอักษร ที่ทำการเครื่องสแกนเอกสารจะทำการอ่านภาพโดยอาศัยแสงสะท้อนกับภาพต้นฉบับที่มีความทึบแสง และภาพจากการสแกนเอกสารจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่จะแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์

สนใจบริการสแกนเอกสาร และบันทึกข้อมูล โทร.02-551-2097 กด 601

เครื่องสแกนเนอร์ที่เราคุ้นเคยกันดีและเห็นได้บ่อยคือเครื่องสแกนเนอร์มือถือ (Hand -Held Scanner) เป็นเครื่องสแกนที่มีขนาดเล็กพอดีมือ มีขนาดเล็กราคาไม่แพงมาก สามารถเก็บหรืออ่านข้อมูลภาพขนาดเล็กๆ ได้ แต่อาจไม่ได้มีความละเอียดมากนัก เช่น บาร์โค๊ด โลโก้ ลายเซ็น เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : เทคโนโลยีการสแกนเอกสาร

ที่บอกว่าพบเห็นได้ง่ายก็เพราะว่าเพียงแค่ในปัจจุบันเราเดินเข้าร้านสะดวกซื้อก็จะเห็นว่าร้านสะดวกซื้อมักนำมาใช้งานที่หน้าเคาน์เตอร์คิดเงินนั่นเอง และเช่นเดียวกันกับเครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Print) ที่ทุกคนคุ้นชินก่อนเข้า-ออกงานก็จะต้องสแกนกันอยู่เป็นประจำเป็นเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้ได้ยอดเยี่ยม สามารถใช้ในการพิสูจน์ตัวตนเพื่อบ่งบอกว่าเป็นลายนิ้วมือของใคร สามารถยืนยันลักษณะตัวตนของบุคคลผู้นั้นได้ เรียกว่าเป็นอุปกรณ์ที่นำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาทำให้เกิดการทำงานที่ง่ายและสะดวกมากขึ้น 

นิยมใช้งานกันทั้งในสำนักงานตำรวจ และสำนักงานทั่วไปที่ใช้สำหรับลงเวลาเข้า-ออกของพนักงานนั่นเอง แล้วก็ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าเทคโนโลยีเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกวัน บางคนอาจไม่เคยคิดด้วยซ้ำว่าการสแกนลายนิ้วมือจะเข้ามาอยู่ในโทรศัพท์มือถือที่เราใช้งานกันเป็นประจำทุกวัน เพื่อความเป็นส่วนตัว และป้องกันการสูญหายของมือถือ ยิ่งล้ำเข้าไปอีกเมื่อมีการสแกนลายนิ้วมือแล้วก็ต้องมีการสแกนม่านตา การสแกนม่านตาก็เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการยืนยันตัวตนของบุคคลผู้นั้นได้เช่นกัน

แต่เครื่องสแกนเนอร์แบบดึงกระดาษนี้จะไม่สามารถสแกนเอกสารที่เป็นหนังสือหรือรูปเล่มได้ หากต้องการสแกนเอกสารที่เป็นหนังสือหรือรูปเล่มอาจจะต้องตัดสันหนังสือออก เพื่อป้อนเอกสารเข้าเครื่องสแกนเนอร์ได้ หากต้องการสแกนเอกสารในรูปเล่มอาจทำให้เสียเวลาในการตัดสันหนังสือและเกิดความไม่สะดวกได้ คุณภาพจากการใข้เครื่อวสแกนเนอร์ดึงกระดาษนี้อยู่ในระดับปานกลางไม่ได้มีความคมชัดมาก แต่ก็ไม่ถึงกับไม่ชัดเอาเสียเลย

ต่อมาเป็นเครื่องสแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet-Feed Scanner) เจ้าเครื่องนี้ถือว่าใช้งานง่ายและสะดวกไม่ต้องมานั่งป้อนกระดาษใส่เครื่องทีละแผ่นให้วุ่นวายเสียเวลา เพียงแค่วางกระดาษลงไปเครื่องก็จะดึงเอกสารเข้าเครื่องสแกนเองอัตโนมัติทีละแผ่น โดยมีตัวเครื่องมีลักษณะเป็นแท่นราบคล้ายกระเป๋าถือขนาดเล็ก มีการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ์ หรือเครื่องโทรสาร

และเครื่องสแกนเนอร์อีกหนึ่งตัวที่เป็นแท่นเรียบเหมือนกัน (Flatbed Scanner) เครื่องสแกนที่จะมีกระจกใสเหมือนเครื่องถ่ายเอกสารที่มีเอาไว้สำหรับวางเอกสารที่ต้องการสแกนมีราคาสูงขึ้นมาหน่อยแต่เรื่องความละเอียดของเอกสารที่ทำการสแกนออกมาถือว่าดีมากเลยทีเดียว

ทีนี้หลาย ๆ คนคงจะสงสัยว่าถ้าหากต้องการสแกนวัตถุต่างๆ ละที่ไม่ใช่กระดาษเอกสารจะสามารถทำได้ไหม ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 4.0 ในยุคสมัยนี้จึงได้มีการพัฒนาสแกนเนอร์ 3 มิติ (3D Scanner) สแกนเนอร์ 3 มิติเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บภาพหรือรายละเอียดของวัตถุ

การสแกนเนอร์เลเซอร์ 3 มิติ ทำงานโดยเครื่องจะยิงเลเซอร์ออกจากเครื่อง และรอเลเซอร์สะท้อนจากวัตถุกลับเข้าไปในเครื่องสแกนเนอร์ และทำการวัดระยะเวลาในการเดินทางของเลเซอร์ เพื่อคำนวณหาระยะทางของตำแหน่งกล้องเทียบกับวัตถุ จากสมการของความเร็ว ในลักษณะของไลดาร์ (LIDAR, Laser Detection and Ranging) โดยทำการสแกน หรือเก็บข้อมูล และจากนั้นจะถูกส่งจากเครื่องสแกนเนอร์เข้าไปสู่คอมพิวเตอร์ในลักษณะจุดใน พิกัด 3 มิติ

ประเภทของเครื่องสแกนเนอร์

เมื่อเครื่องสแกนเนอร์มีหลากหลายรูปแบบแน่นอนว่าภาพที่ได้จากการสแกนเนอร์ออกมานั้นจะต้องมีรูปแบบประเภทของมัน โดยจะมีทั้งหมด 4 ประเภท

  1. ตัวหนังสือ ส่วนใหญ่ตัวหนังสือจะมาจากการสแกนเอกสารที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บให้มาอยู่ในรูปแบบเอกสารดิจิทัล และสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ โดยการสแกนเอกสารที่เป็นข้อความทุกตัวอักษรจะเป็นไปตามต้นฉบับทั้งหมด
  2. ภาพ Single Bit เป็นภาพที่ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพไม่นานเพราะเป็นภาพที่มีความหยาบ และนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้มากนัก โดยภาพ Single Bit แบ่งออกได้สองประเภทดังนี้ – Halftone ภาพประเภทนี้จะเป็นโทนสีเทามากกว่า แต่ยังคงจัดอยู่ในภาพที่มีความหยาบ – Line art ประเภทของภาพนี้จะประกอบไปด้วยสีขาวดำ ตัวอย่างภาพประเภทนี้จะได้แก่ ภาพที่ได้จากการ สเก็ตนั่นเอง
  3. ภาพสี ภาพประเภทนี้จะใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลมาก ซึ่งจะมีจำนวนบิตที่มากมายเลยทีเดียว โดยความละเอียดของภาพที่สแกนออกมาก็จะขึ้นอยู่กับเครื่องสแกนเนอร์ที่ใช้งานว่ามีความละเอียดมากน้อยขนาดไหน
  4. ภาพ Gray Scale จะเป็นภาพที่ประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น บางคนอาจจะคิดว่ามันคือภาพขาวดำแต่ไม่ใช่ โดยภาพ Gray Scale จะทำให้เห็นรายละเอียดของแสงและเงา และมีความคมชัดมากกว่าจะต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมากขึ้น แต่ละพิกเซลจำมีจำนวนบิตทที่มากพอสมควรทำให้ต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมากขึ้น

สรุป

หน้าที่หลักของเครื่องสแกนเนอร์ คือ การแปลงสัญญาณภาพให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า โดยการสแกนภาพหรือตัวอักษรที่อยู่ในเอกสารเสร็จแล้ว บันทึกเป็นข้อมูลทางดิจิตอลลงในสื่อบันทึกของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่าง ๆ ได้